11.11.64

กำหนดทอดกฐิน วัดเพชรสุวรรญ ปี2564

กำหนดทอดกฐิน วัดเพชรสุวรรณ ปี2564 วันอาทิตย์ 14 พย. 2564

ติดต่อ  พระสมุห์สังกาศ สุทธิญาโณ 089-5481048

งานทำบุญ 100วัน https://www.facebook.com/photo/?fbid=1081115912715020&set=pcb.1062991294465409

นำรูปเหมือนขึ้นเรือนไทย https://www.facebook.com/photo/?fbid=1084643675695577&set=pcb.1067727187325153

อัญเชิญองค์พระผุฒ องค์
เจ้าแม่กวนอิ่มขึ้นสู่วิหารเจ้าแม่ https://www.facebook.com/photo/?fbid=1098667980959813&set=pcb.1081111969320008




6.7.64

  พระอธิการสนิท กมโล (พระอาจารตี้ ) อายุ 87 ปี 

เจ้าอาวาสวัดเพชรสุวรรณ บางตะบูน บ้านแหลม เพชรบุรี

มรณะภาพ วันที่ 1 กรกฎาคม 2564 กำหนดสวดพระอภิธรรม เวลา 18.00 น.ทุกวัน เป็นเวลา 50 วัน

 แล้วบรรจุ ณ ศาลาเรือนไทยวัดเพชรสุวรรณ

 ขอแจ้งข่าว ให้บรรดาผู้ที่เคารพนับถือได้ทราบทั่วกัน

ขอบคุณ ข้อมูลภาพจากเฟสบุ๊ค 

 บ้านแหลมของเรา, ช่างนงค์ ,ช่างอ้วน. อ.ชัยสิทธิ์ สิทธิโชคคณานนท์ คุณนพดล นิยมค้า 

ศิษยานุศิษย์ ติดตามข่าวสารได้ที่ ลิงค์วัดเพชรสุวรรณ

วันที่8ก.ค2564

พระสมุห์สังกาศ สุทธิญาโณ 089-5481048

เจ้าอาวาสวัดโพธิ์สุวรรณรับตำแหน่งรักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดเพชรสุวรรณ








 

20.3.54

วัดเพชรสุวรรณ

วัดเพชรสุวรรณ ตั้งอยู่หมู่ที่๕ ตำบลบางตะบูนออก อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี เล่าสืบต่อกันมาว่า บริเวณนี้เคยเป็นที่อยู่อาศัยของชุมชนแต่ครั้งโบราณกาล แต่ยังไม่มีวัด ต่อมามีพระธุดงมาพำนักและทำนายว่าจะมีผู้มีบุญมาสรัางวัดบริเวณนี้ พ.ศ.๒๕๐๓ พลทหารสนิท เขียวขำ สังกัดกองทัพเรือได้อุปสมบทที่วัดปากอ่าวบางตะบูน มีฉายาว่า พระสนิท กมโล ได้ศึกาษเล่าเรียนพระธรรมวินัยอย่างแตกฉาน ได้ศึกษาทางด้านพระพุธศาสนา ด้านฝึกจิตสมาธิกรรมฐาน ตามแนวทาง ท่านพระครูญาณสาคร (หลวางพ่อแฉ่ง)เจ้าคณะตำบลบางตะบูน เจ้าอาวาสวัดปากอ่าวบางตะบูน พ.ศ. ๒๕๐๙ พระอธิการสนิท ได้ดำเนินการสร้างวัด โดยได้รับความร่วมมือจาก นายตี๋ นางเพี้ยน ศรีสละและโยมเฮี้น นวมศิริได้มอบที่ดินจัดสร้างเป็นสำนักสงฆ์ขึ้น ณ.บ้านเนินมะขาม ๑หลังต่อมา ผู้ใหญ่เพิก สมุทรผ่อง และประชาชนทั่วไปได้จัดสร้างกุฎิเจ้าอาวาส หอฉัน และกุฏิสงฆ์ขึ้น พ.ศ.๒๕๑๒ กระทรวงศึกษาธิการประกาศตั้งเป็นวัดเมื่อ ๑๑กันยายน ๒๕๑๒ และได้สร้างโรงเรียนประชาบาลโดยคุณหญิงญาณี รสประไพ เป็นผู้ออกทรัพย์ พ.ศ.๒๕๑๓ พระสนิท กมโล ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดเพชรสุวรรณสร้างถังเก็บน้ำฝนขนาดใหญ่ไว้เก็บน้ำไว้ดื่มและใช้ในหน้าแล้ง พ.ศ.๒๕๑๕ สร้างครัวของวัดเป็นเป็นเรือนไม้ทรงไทย ๒หลัง พ.ศ.๒๕๑๖ สร้างวิหารหลวงพ่อโชคชัยประสิทธิ์ พ.ศ.๒๕๑๗ สร้างพระอุโบสถสูง๒ชั้น พ.ศ.๒๕๒๐ สร้างกุฏิสงฆ์ แบบทรงไทย๒ชั้น วัดเพชรสุวรรณ มีพระพุทธรูปศิลปสมัยศรีวิชัย พระพุทธรูปองค์นี้มีพุทธลักษณะงดงามมากได้มาจากวัดกลางเหนือ จังหวัดสมุทรสงคราม ซึ่งชาวบ้านทั่วไปเรียกพระพุทธรูปองค์นี้ว่า "หลวงพ่อโชคชัย"และมีเจ้าแม่กวนอิม ซึ่งทางวัดได้มาจากประเทศจีน แกะสลักด้วยไม้จันทร์หอม อายุประมาณ 1,000 ปี เป็นโบราณวัตถุที่มีค่าสูงยิ่ง ตำบลบางตะบูน ตั้งชื่อตามไม้ชายเลนชนิดหนึ่ง ชื่อ "ต้นตะบูน" ซึ่งมีบริเวณที่ตั้งตำบล ชาวบ้านจึงใช้ชื่อต้นไม้เป็นชื่อของตำบลเรื่อยมา ว่า "ตำบลบางตะบูน" เมื่อสมัยก่อนบางตะบูน ขึ้นอยู่กับอำเภอเขาย้อย ย้ายกลับมาอยู่กับอำเภอบ้านแหลม เมื่อ พ.ศ.2481 และมีคนปกครองคือ ท่านขุนตะบูน ท่านมีอำนาจมากในสมัยนั้น แม่น้ำบางตะบูนไหลออกอ่าวบางตะบูน อันแม่น้ำบางตะบูนนั้นต้นน้ำมาจากลำน้ำธรรมชาติ ไหลมาจากอำเภอบ้านลาด ในเขตอำเภอเขาย้อย ไหลผ่านบ้านเขาสมอระบัง และบ้านสามแพรกลงปากอ่าวบางตะบูน จึงเรียกว่า แม่น้ำบางตะบูน ในสมัยเมื่อ 30 ปีก่อน มีเรือขึ้นไปค้าขายถึงเขตอำเภอบ้านลาดได้ นอกจากนั้นยังมีคลองตัดเชื่อมกันหลายสาย บางสายขุดเชื่อมระหว่างแม่น้ำเพชรบุรีที่ตำบลบางครก ทำให้น้ำในแม่น้ำเพชรบุรีส่วนหนึ่งไหลไปลงทางบางตะบูนผ่านวัดเขาตะเครา เป็นเหตุให้มีการเข้าใจผิดว่าแม่น้ำบางตะบูนเริ่มแยกจากแม่น้ำเพชรบุรีตรงนี้ไปจนถึงปากอ่าาวบางตะบูน แม่น้ำบางตะบูนจริง ๆ ไหลมาจากอำเภอบ้านลาด ผ่านอำเภอเมืองเพชรบุรีและอำเภอเขาย้อยถ้านับความยาวก็กว่า 50 กิโลเมตร และตอนนี้ตำบลบางตะบูนได้เปลี่อนเป็นเทศบาลตำบลบางตะบูน อำเภอบ้านแหลม เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดเพชรบุรี ซึ่งได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามอำเภอว่า "อำเภอบ้านแหลม" จากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2447 (ร.ศ.123) หลังจากที่เคยได้รับการจัดตั้งแล้วถูกยุบรวมกับอำเภอเมืองเพ็ชร์บุรี อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้[1] ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภออัมพวาและอำเภอเมืองสมุทรสงคราม (จังหวัดสมุทรสงคราม) ทิศตะวันออก จรดอ่าวไทย ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเมืองเพชรบุรี ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเมืองเพชรบุรีและอำเภอเขาย้อย ชื่อ "บ้านแหลม" เป็นชื่อเรียกตามสภาพภูมิประเทศที่เป็นแหลมยื่นลงไปในทะเล เดิมเป็นแขวงขุนชำนาญกับแขวงพรหมสาน ได้รับการจัดตั้งเป็นอำเภอ เมื่อปี พ.ศ. 2443 ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ยุบรวมอำเภอเมืองเพ็ชร์บุรี เมื่อ ร.ศ. 120(พ.ศ. 2444)[2] ต่อมากรมการอำเภอเมือง ได้แจ้งมณฑลเทศาภิบาลราชบุรี ว่าท้องที่อำเภอเมือง เมืองเพ็ชรบุรี มีพื้นที่กว้างขวาง มีพลเมือง 60,000 เศษ เหลือกำลังเกินที่กรมการอำเอเมืองจะตรวตรารักษาความสงบเรียบร้อยให้ตลอดทั่วถึงได้ จึงขอแยกอำเภอใหม่ ซึ่งพระยาอมรินทร์ฤๅไชย ข้าหลวงมณฑลเทศาภิบาลราชบุรีได้มีใบบอกไปยังกระทรวงมหาดไทยเพื่อนำความกราบบังคบทูลต่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามอำเภอใหม่ว่า "อำเภอบ้านแหลม" [3] เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2447 (ร.ศ.123) สมัยอดีตนั้นอำเภอบ้านแหลมเป็นเสมือนเมืองท่าของเมืองเพชรบุรีที่ใช้เป็นที่ติดต่อค้าขายกับหัวเมืองอื่น ดังนั้นเมืองเพชรบุรีจึงเป็นเมืองที่มีความรุ่งเรืองมาแต่ในอดีตจากการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ โดยมีสินค้าหลักก็คือ น้ำตาลโตนดและเกลือ ความเป็นเมืองท่าเล็กของสยามประเทศได้สิ้นสุดลงเมื่อได้มีสนธิสัญญาเบอร์นีที่บังคับให้สยามมีการติดต่อค้าขายผ่านทางท่าเรือคลองเตยเพียงแห่งเดียว ภายหลังสนธิสัญญาเบาว์ริงได้มีผลบังคับแทนสนธิสัญญาเบอร์นีและได้ยกเลิกในรัชกาลต่อมา แต่รัฐบาลได้หันไปพัฒนาท่าเรือน้ำลึกที่แหลมฉบัง หาได้มีการพัฒนาท่าเรือตามเมือง (จังหวัด) อย่างที่เคยมีมาแต่เดิมไม่ ประชาชนที่อยู่ในอำเภอบ้านแหลมในอดีตซึ่งมักจะมีฐานะจากการค้าขายภายหลังจึงได้มีการอพยพย้ายถิ่นฐานเข้าไปทำมาหากินในกรุงเทพมหานคร ชื่อ “บ้านแหลม” มีที่มาจากสภาพภูมิศาสตร์ของพื้นที่บ้านแหลม ใน จ.เพชรบุรีนั้น มีลักษณะเป็นแหลมยื่นไปในทะเล ที่ได้เอื้อให้บริเวณบ้านแหลมเป็นท่าพักขนถ่ายสินค้าทางทะเลของเมืองเพชรบุรีกับบ้านเมืองแถบคาบสมุทร หรือสำเภาจากจีน รวมทั้งส่งสินค้าไปขายทางตอนในของผืนแผ่นดินใหญ่ มีแม่น้ำเพชรบุรีและแม่น้ำบางตะบูนไหลเชื่อมอ่าวไทย สินค้าท้องถิ่นที่ส่งไปขายยังบ้านเมืองอื่นๆ เช่น เกลือสมุทร ที่ผลิตในเพชรบุรี แล้วพัฒนาไปสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ.1991-2031) น้ำตาลโตนด และของทะเลต่างๆ ดังมีบันทึกในเอกสารยุคปลายกรุงศรีอยุธยา “คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม” กล่าวถึงสินค้าจากบ้านแหลม เมืองเพชร ว่า “...อนึ่ง เรือปากใต้ปากกว้าง 6 ศอก 7 ศอก ชาวบ้านยี่สาร บ้านแหลม เมืองเพชรบุรี แลบ้านบางตะบูน แลบ้านบางทะลุ บันทุกกะปิ น้ำปลา ปูเค็ม ปลากุเลา ปลากระพง ปลาทู ปลากระเบนย่าง มาจอดเรือขายแถวท้ายวัดพระนางเชิง...”
  บอกกล่าว ด้วยผู้จัดทำเว็บไซต์ วัดเพชรสุวรรณ พื้นเพเดิมเป็นคนบ้านแหลม เพชรบุรี ปัจจุบันอยู่ แม่สะเรียง แม่ฮ่องสอนได้มากราบพระอธิการสนิท กมโล (พระอาจารย์ตี๊)และแจ้งข่าว แม่กลื่น สังข์ลาโพธิ์ พี่สาวพระครูพัชชรกิจจานุกูล (พระอาจารย์รั้ว ชินทะเล)เจ้าอาวาสวัดลักษณาราม อ.บ้านแหลม เพชรบุรี มารดาผู้เขียนเสียชีวิต ซึ่งท่าน อธิการสนิท กมโล สมัยก่อนบวช นับถือสเมือนพื่สาวคนหนึ่ง ที่อยู่รวมกันประกอบอาชีพประมง ทำโป๊ะ จับปลา เป็นครอบครัวใหญ่ ของยายฮุ้น ก๋งนะ พงษ์สำราญ และยายเจียน ก๋งเท่งต๋อย ชินทะเล แม่กลิ่นเคยเล่าให้ฟังว่า ท่านเคยเลี้ยงดูแล ผู้เขียนสมัยเด็กๆ เมื่อมีโอกาสไปกราบท่าน ก็รับที่จะทำเว็บไซต์ เพื่อเผยแพร่ วัดเพชรสุวรรณ บางตะบูนบ้านแหลม เพชรบุรี เป็นสาธารณะกุศล ต่อไป ท่านผู้ใดมีข้อมูลเพื่มเตืม หรือประชาสัมพันธ์ข่าวสาร ได้ที่ อ.สุพจน์ สังข์ลาโพธิ์ บ้านยอดตำลึง แม่สะเรียงแม่ฮ่องสอน 081-5238996 http://ban-yodtumlueng.blogspot.com/ ปัจจุบัน2562 อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ https://www.facebook.com/banyodtumlueng